สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 22-28 ส.ค.59

ข่าวรายสัปดาห์ 22-28 ส.ค.59

ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงาน

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.75 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
     ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ  
     ราคาถั่วเหลืองลดลงเนื่องจากข้อมูลจากการสำรวจคาดว่าผลผลิตถั่วเหลืองในอเมริกาตะวันตกกลางจะมีปริมาณมาก ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของสหรัฐอเมริกาได้พยากรณ์ไว้ว่าจะมีผลผลิตสูงเป็นประวัติการณ์ ผู้สำรวจกล่าวว่า ถั่วเหลืองของรัฐอินเดียนามีจำนวนฝักเฉลี่ย 1,178 ฝัก ต่อ 3 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจาก 1,093 ฝักต่อ 3 ตารางเมตรเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งจำนวนฝักในปีนี้ยังสูงกว่าจำนวนฝักเฉลี่ยสามปีย้อนหลังซึ่งมีจำนวน 1,166 ฝัก ต่อ 3 ตารางเมตร นอกจากนี้ ถั่วเหลืองของรัฐเนแบรสกายังมีจำนวนฝักเฉลี่ยสูงกว่าปี 2558 เช่นกัน
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก) 
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,033.33 เซนต์ (13.22 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,024.47 เซนต์ (12.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.86 
     ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 332.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.58 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 337.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.47 
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 33.78 เซนต์ (25.92 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 33.53 เซนต์ (25.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.75


หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน

22 - 28 ส.ค. 2559

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
     ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดสอดรับและใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ค่อนข้างทรงตัว แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 68.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.60 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 72.73บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 68.99 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,300 บาท (บวกลบ 70 บาท ) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ  
     ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.50 บาท ทรงตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
     สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดลดลง ส่งผลให้ภาวะตลาดไก่เนื้อค่อนข้างคึกคัก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.22 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.02 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.67 บาท และภาคเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

     ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวนในหลายพื้นที่มีฝนตก การซื้อขายไม่คล่องตัว ประกอบกับมีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติ ส่งผลให้ความต้องการบริโภคอ่อนตัวลง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 315 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 317 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.63 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 318 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 318 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 29.00 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.41
าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 361 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 359บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 362 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.83 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 371 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 351 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 365 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 101.78 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 100.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.95 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 109.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 101.14 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 96.30 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.00 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.92 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

ข่าวสัปดาห์ วันที่ 22 -28 ส.ค. 2559

ไหม

      ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,750 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,752 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.11
      ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,458 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,397 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.37
      ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 933 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี